การอุดหนุนงบประมาณให้โรงเรียนสังกัด สพฐ. การอุดหนุนงบประมาณให้โรงเรียนสังกัด สพฐ. หลายคนทั้งสังกัด อปท. และ สพฐ.ต่างก็กังขา ในแนวทางปฏิบัติเรื่องการอุดหนุนของท้องถิ่นแต่ละแห่งที่ไม่เหมือนกัน ความจริงแล้ว ไม่ว่าท้องถิ่นใดใช้ระเบียบปฏิบัติตัวเดียวกัน แต่เข้าใจไปคนละอย่างสองอย่าง จึงทำให้เกิดปัญหาตามมามากมาย ฝ่าย สพฐ. ก็สงสัยว่าทำไม อปท. จึงไม่อุดหนุนโรงเรียนโรงเรียนของ สพฐ. ทั้งๆ ที่อยู่ในพื้นที่ของ อปท. นั้น ฝ่าย อปท. เองก็อยากอุดหนุน เพราะเด็กนักเรียนเหล่านั้นเป็นเด็กของท้องถิ่นทั้งนั้น ไม่มีผู้นำท้องถิ่นคนไหนที่มองเห็นลูกของตนเองขาดแคลนแล้วไม่ยื่นมือเข้าไปช่วยเหลือ แล้วติดขัดอยู่ตรงไหน คำตอบอยู่ที่ทุกกระทรวงต่างก็ได้รับงบประมาณจากสำนักงบประมาณกันมาเพื่อพัฒนาลูกๆ ของตนเอง ตามสัดส่วนของคน ที่ผ่านสภาผู้แทนราษฎรมาเรียบร้อยแล้ว แต่ สพฐ. ดูแลได้ไม่ทั่วถึง เพราะมีลูกมาก การที่มาขอรับการอุดหนุนจาก อปท. อีก เท่ากับ อปท. ไม่ได้เลี้ยงลูกตัวเองให้อิ่มก่อน แต่กลับเอาไปเลี้ยงลูกคนอื่น ทางกระทรวงต้นสังกัดจึงออกระเบียบมาเพื่อป้องกันการจ่ายงบประมาณที่ซ้ำซ้อน โดยมีหน่วยงาน สตง. เป็นผู้ตรวจสอบการใช้เงินให้ถูกต้องอีกสำทับหนึ่ง มีหนังสือที่เกี่ยวข้อง 2 ฉบับ คือ. 1. มท 0893.3/ว 0020 ลว 6 มกราคม 2552 เรื่อง การอุดหนุนงบประมาณให้โรงเรียนสังกัด สพฐ. 2. มท 0898.2/ว 2611 ลว 4 สิงหาคม 2547 เรื่อง ตั้งงบรายจ่ายและการใช้จ่ายงบหมวดเงินอุดหนุน อปท. เพิ่มเติม 3. มท 0808.2/ว3616 ลว. 24 มิถุนายน 2559 ระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยเงินอุดหนุนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2559 นับแต่นี้ไป อปท.สามารถอุดหนุน โรงเรียนสังกัด สพฐ. ได้ ตั้งแต่ วัสดุอุปกรณ์การเรียนการสอน ค่าจ้างครูที่ขาดแคลน กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ยกเว้นที่ค่าดินสิ่งก่อสร้าง เพราะ พรบ. การศึกษาแห่งชาติ มาตรา 60 (4) ระบุไว้ชัดเจนว่า งบลงทุนเป็นหน้าที่ของรัฐ ดังนั้น จึงไม่ใช่หน้าที่ของท้องถิ่นที่จะต้องอุดหนุนเรื่องที่ดินสิ่งก่อสร้าง ผู้เขียนขอนำเสนอแนวทางที่ปฏิบัติได้จริง ซึ่งมีขั้นตอนที่ค่อนข้างจะยุ่งยากสำหรับผู้ขอรับงบอุดหนุน จาก อปท. แต่เพื่อลดความกดดันและการทำผิดระเบียบฯ จึงมีแนวทางปฏิบัติ ดังนี้ 1. โรงเรียนที่จะขอรับเงินอุดหนุนจาก อปท. ต้องเขียนโครงการระบุวัตถุประสงค์โดยละเอียดว่าต้องการเงินไปทำอะไร จำนวนเท่าไร 2. โรงเรียนต้องนำโครงการดังกล่าวฯ เข้าที่ประชุมคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานของโรงเรียนขอความเห็นชอบ (โดยแนบหลักฐานรายงานการประชุมให้ อปท. ด้วย) 3. โรงเรียนต้องเสนอโครงการดังกล่าวไปยังเขตพื้นที่การศึกษา เพื่อเข้าที่ประชุมคณะกรรมการด้านการศึกษาของเขตพื้นที่การศึกษา เพื่อยืนยันว่าเขตพื้นที่ ไม่มีงบประมาณสนุนสนุนจริง (โดยแนบรายงานการประชุมของคณะกรรมการฯ ให้ อปท. ด้วย) 4. โรงเรียนนำโครงการดังกล่าว ไปขอรับการอุดหนุนจาก อปท. ล่วงหน้า 1 ปี (ส่งประมาณเดือนมิถุนายนของทุกปี) 5. อปท.นำโครงการดังกล่าวเข้าที่ประชุมคณะกรรมการด้านการศึกษาของ อปท. นั้นๆ ถ้าไม่ผ่านก็ตกไป ถ้าผ่าน 6. อปท. จะนำใส่ไว้ในแผนพัฒนา อปท. 3 ปี และตราเป็นเทศบัญญัติ/ข้อบัญญัติ 7. โรงเรียนทำหนังสือขออนุมัติรับการอุดหนุน(ใช้เงิน) หลังจากที่เทศบัญญัติ/ข้อบัญญัติมีผลบังคับใช้ 8. เมื่อโรงเรียนนำงบประมาณไปใช้แล้ว เมื่อเสร็จสิ้นโครงการ โรงเรียนต้องรายงานการใช้งบประมาณโดยละเอียด พร้อมภาพประกอบ หากงบประมาณเหลือจ่าย ต้องส่งคืน อปท. 9. หากตรวจพบว่าโรงเรียนนำงบประมาณไปใช้ผิดวัตถุประสงค์ที่ระบุไว้ในโครงการฯ อปท. สามารถเรียกเงินคืนได้ 10. เพื่อความโปร่งใสและตรวจสอบได้ เมื่อ สตง. ตรวจสอบและเกิดข้อสงสัย อปท. จะชี้นำให้ สตง. ลงไปตรวจสอบ ณ โรงเรียนนั้นได้เช่นกัน ต่อไปนี้ อปท. ทั่วประเทศ คงไม่ตกเป็นจำเลยของ สพฐ. ที่กล่าวหาว่า อปท. ไม่อุดหนุน ก่อนที่จะคิดในสิ่งที่เป็นลบ โปรดเอาใจเขามาใส่ใจเราบ้าง ว่าทุกกระทรวงเขาก็มีระเบียบและแนวทางปฏิบัติของเขาเหมือนกัน จงช่วยเหลือตนเองก่อนที่จะให้ผู้อื่นช่วยเหลือ CR: จินตนา คงเหมือนเพชร นักบริหารการศึกษา กองการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม อบจ.ภูเก็ต เขียนโดย คุณ อบต.ป่าอ้อ
https://sites.google.com/view/ceramic-furnace/?pli=1 เขียนโดย คุณ ธำมรงค์